top of page

ระบบน้ำหยดเพื่อการเกษตร ทำเองง่ายๆ แบบประหยัดงบ

Updated: Oct 19, 2023


ระบบน้ำหยดเพื่อการเกษตร


ระบบน้ำหยด

ระบบน้ำหยด หรือ Drip Irrigation System เป็นรูปแบบการให้น้ำระบบประหยัด สามารถให้น้ำในสวนได้ตามต้องการ ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย และลดแรงงาน เป็นวิธีสู้ภัยแล้งที่มีประสิทธิภาพอีกวิธีหนึ่ง ทั้งยังสามารถประยุกต์ใช้ได้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการปรับตั้งเวลาและปริมาณน้ำได้เเบบอัตโนมัติ หรือจะผสมปุ๋ยและยากำจัดศัตรูพืชลงไปในระบบน้ำหยดก็ได้ ที่สำคัญสามารถประกอบและติดตั้งได้เองเเบบง่าย ๆ ด้วยงบประมาณที่ไม่สูงจนเกินไป


ข้อดีของระบบน้ำหยด

  • ใช้ให้น้ำในภาคการเกษตร โดยสามารถใช้ประยุกต์กับเครื่องตั้งเวลา หรือทำระบบเปิด-ปิดปั๊มจากที่ไกล ๆ ได้ เพื่อความสะดวกสบายของเกษตรกร

  • สามารถประยุกต์ใช้กับการให้ปุ๋ยและยากำจัดศัตรูพืชต่าง ๆ ได้

  • ช่วยเแก้ปัญหาพื้นที่ที่ดินไม่กักเก็บน้ำ ดินแห้ง หรือไม่อุ้มน้ำ ให้ดินมีความชุ่มชื้นอยู่ตลอดเวลา

  • สามารถประยุกต์ใช้กับการให้น้ำต้นไม้ในสวน ที่ปลูกเป็นแถวยาว ไม้กระถาง ไม้พุ่ม หรือต้นไม้ใหญ่และกรณีพืชที่ไม่ต้องการให้เปียกน้ำ ก็เลือกใช้หัวน้ำหยด หรือท่อน้ำหยดได้

  • ช่วยประหยัดเวลา สามารถกำหนดเวลาและปริมาณน้ำได้

  • สามารถทำได้ง่ายกว่าระบบพ่นหมอก เพราะระบบน้ำหยดไม่ต้องอาศัยแรงดันน้ำมากนัก

  • มีราคาย่อมเยากว่าในการใช้งานต่อพื้นที่ที่เท่ากัน


อุปกรณ์ในการทำระบบน้ำหยด

  1. ถังน้ำขนาด 2,000 ลิตร

  2. ถังน้ำขนาด 200 ลิตร

  3. ปั๊มน้ำหอยโข่ง ขนาด 0.5 แรงม้า

  4. บอลวาล์ว ประมาณ 5 ตัว เพื่อปรับแรงดันในแต่ละช่วงของข้อต่อ

  5. ท่อPVC ขนาด 1 นิ้ว สำหรับเดินระบบสูบน้ำไปถังใหญ่และจ่ายน้ำเข้าสู่ท่อน้ำหยด

  6. ท่อPVC ขนาด ½ นิ้ว สำหรับระบบน้ำถังเล็ก ไว้ใส่ปุ๋ย

  7. ท่อกรองน้ำเกษตร สำหรับกรองหยาบก่อนส่งน้ำเข้าท่อน้ำหยด

  8. เทปน้ำหยด เลือกระยะรูน้ำหยดตามลักษณะของพืชและการปลูก

  9. วาล์วน้ำหยด สำหรับต่อเทปน้ำหยด

  10. ผ้าพลาสติกดำ


ขั้นตอนการประกอบและติดตั้งระบบน้ำหยด

1. เทปูนในส่วนที่จะวางถังน้ำ โดยทำเป็นแท่นให้ถัง 2,000 ลิตร อยู่สูงขึ้นไปด้านบน ก่อนจะวางถัง 200 ลิตร ไว้ที่ด้านล่าง โดยฐานปูนจะช่วยไม่ให้เกิดการทรุดตัว เนื่องจากน้ำหนักของน้ำที่มีมาก ส่วนถัง 200 ลิตร ที่อยู่ด้านล่าง มีไว้เพื่อพักน้ำก่อนจ่ายสู่เครื่องสูบน้ำ และใช้สำหรับผสมปุ๋ยและยากำจัดศัตรูพืช


ระบบน้ำหยดเพื่อการเกษตร


2. เดินระบบสูบน้ำเข้าไปสู่ถังทั้งบนและล่างให้เป็นระบบหมุนเวียน เดินท่อพีวีซี 1 นิ้ว เพื่อสูบน้ำจากบ่อ โดยใช้ปั๊มหอยโข่งขนาด 1x1 นิ้ว 0.5 แรงม้า ส่งน้ำเข้าถังใหญ่ เดินท่อพีวีซี ½ นิ้ว เพื่อเติมน้ำลงถังเล็ก และสูบน้ำจากถังเล็กไปถังใหญ่ ตามภาพ ประกอบบอลวาล์วไว้ เพื่อเป็นประตูควบคุมแรงดันในท่อให้สม่ำเสมอและเหมาะสม


ระบบน้ำหยดเพื่อการเกษตร


3. เดินท่อพีวีซี 1 นิ้ว จากถัง 2,000 ลิตร โดยผ่านข้อต่อกรองน้ำเกษตรเสียก่อน ให้หัวลูกศรที่ตัวกรองหันไปทิศทางเดียวกับการไหลของน้ำ ติดตั้งท่อพีวีซีตามความกว้างของหัวแปลง จากนั้นเจาะท่อพีวีซีในตำแหน่งที่ต้องการวางสายเทปน้ำหยด ต่อวาล์วน้ำหยดก่อนติดตั้งเทปน้ำหยดไปตามแนวแปลงปลูก ระยะห่างระหว่างเเต่ละรู จะแตกต่างกันไปตามชนิดพืชที่เราปลูก เช่น เเปลงข้าวโพด ควรกำหนดรูน้ำหยดให้ห่างกันทุก ๆ 20 เซนติเมตร พืชล้มลุกอื่น ๆ อาจปรับเป็น 30 เซนติเมตร แต่ถ้าเป็นพืชกอใหญ่ควรห่างกัน 60เซนติเมตร ทั้งนี้อาจเลือกใช้ท่อ PE แล้วนำมาเจาะรูเองก็ได้ตามสะดวก


ระบบน้ำหยดเพื่อการเกษตร


4. หากต้องการกำจัดวัชพืชรอบๆ แปลงปลูก ให้ใช้พลาสติกคลุมดินสีดำ ทำการคลุมรอบแปลงปลูก โดยเว้นโคนต้นเอาไว้ นอกจากจะช่วยไม่ให้หญ้าขึ้นเเล้ว วิธีนี้ยังช่วยรักษาความชุ่มชื้นในดินได้ดีอีกด้วย


ระบบน้ำหยดเพื่อการเกษตร

ซึ่งระบบน้ำหยดเพื่อการเกษตรทั้งหมดนี้ สามารถประกอบติดตั้งได้ในงบประมาณไม่เกิน 20,000 บาท สำหรับแปลงปลูกขนาดไม่เกิน 1 ไร่ และสามารถมีอายุการใช้งานได้ราว ๆ 5-10 ปีเลยทีเดียว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคุณภาพของระบบท่อต่าง ๆ ที่เลือกนำมาใช้


ระบบน้ำหยดเพื่อการเกษตร


ปั๊มน้ำที่มีคุณภาพและเหมาะสมกับการใช้งานก็มีความสำคัญเช่นกัน บริษัท Min Sen Machinery ขอแนะนำ ปั๊มหอยโข่ง รุ่น ACm37 จาก Leo Pump Thailand ขนาด 1x1 นิ้ว 0.5 แรงม้า เหมาะสำหรับงานเกษตรและอุตสาหกรรม ชลประทาน งานส่งถ่ายน้ำ และงานประปาทั่วไป

  • ตัวปั๊มเหล็กหล่อป้องกันสนิมชนิด

  • แรงดูดลึกสุด 8 เมตร

  • เพลา AISI 304

  • อุณหภูมิของเหลวสูงสุด 40℃

  • มอเตอร์เฟสเดียว มีอุปกรณ์ทำความร้อนภายในตัว

  • ระดับฉนวน F

  • ระดับการป้องกันIPX4

Agriculture

Agri_xl.jpg

Water System

Water_xl.jpg

Machine Tools

Machine_Tools_xl.jpg

Railway Solution

Railway_xl.jpg
bottom of page