top of page

วิธีดูแลรักษา “ปั้มหอยโข่ง” ในอุตสาหกรรม

อัปเดตเมื่อ 12 ต.ค. 2566


วิธีดูแลรักษา “ปั้มหอยโข่ง” ในอุตสาหกรรม

ปั๊มน้ำยอดนิยมที่มีเกือบทุกอุตสาหกรรม แม้แต่บ้านเรือนและที่พักอาศัยเองก็ตาม นั่นก็คือ ปั๊มหอยโข่ง หรือ ปั๊มแรงเหวี่ยง (Centrifugal Pump) นั่นเอง สำหรับปั๊มหอยโข่ง เป็นปั๊มน้ำที่มีทั่วไปและสามารถดูแลซ่อมบำรุงเองเบื้องต้นได้ด้วย ไปทำความรู้จักปั๊มหอยโข่งกัน


ปั้มหอยโข่ง คืออะไร?

ปั๊มหอยโข่ง หรือ (Centrifugal Pump) เป็นอุปกรณ์ถูกออกแบบเหมือนก้นหอย มีกลไกเคลื่อนย้ายและถ่ายเทของเหลว โดยอาศัยหลักการถ่ายโอนพลังงานจากการหมุนของมอเตอร์อย่างน้อย หนึ่งตัวหรือมากกว่า โดยด้านหนึ่งของมอเตอร์จะมีใบพัดติดเอาไว้ เมื่อของเหลวถูกดูดเข้ามา ใบพัดที่หมุนอย่างรวดเร็วและของเหลวนั้น จะถูกเหวี่ยงออกตามเส้นรอบวงผ่าน ส่วนปลายของใบพัด โดยรูปทรงของใบพัดจะเป็นตัวเพิ่มความเร็วและแรงดันของเหลวที่อยู่ภายในตัวของมอเตอร์และส่งไปยังทางออกของปั๊มน้ำ ดังภาพ


วิธีดูแลรักษา “ปั้มหอยโข่ง” ในอุตสาหกรรม

ปั้มหอมโข่ง (Centrifugal Pump) มีกี่ประเภท?

ปั๊มหอยโข่งจะแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท แล้วแต่ปัจจัยของการใช้งาน เช่น การใช้งานที่ไม่หนักไปจนถึงระดับอุตสาหกรรม จะสามารถแบ่งโดยการจำแนกลักษณะของเครื่องได้ 4 ประเภท ดังนี้


การแบ่งตามแนวการใช้งาน

ปั๊มหอยโข่งแนวตั้ง ปั๊มจะแยกออกมาตามแนวของแกนและเส้นแบ่งที่ปลอกของตัวปั๊ม ที่อยู่ตรงกึ่งกลางตามแนวตั้ง

ปั๊มหอยโข่งแนวรัศมี ปั๊มจะแยกออกมาเป็นรัศมี ตามแนวของทรงก้นหอยและจะตั้งฉากกับกึ่งกลางแกนเพลาของปั๊มน้ำ


แบ่งตามทรงก้นหอย

ทรงก้นหอยช่องเดี่ยว จะมีขนาดเล็กและความจุต่ำ

ทรงก้นหอยช่องคู่ พบเห็นมากที่สุด มีปริมาตร 2 ส่วนที่ขนานกัน ทำให้เกิดความสมดุลและความจุมากกว่า และมีขนาดใหญ่กว่าทรงก้นหอยช่องเดี่ยวเล็กน้อย


การแบ่งตามลักษณะของใบพัด

แบบใบพัดเดี่ยว การติดตั้งใบพัดเดี่ยว จะมีการออกแบบที่เน้นความง่าย แต่อาจทำให้ใบพัดมีความไม่สมดุลของแรงดันที่ส่งออกไปได้เช่นกัน

แบบใบพัดคู่ การติดตั้งใบพัดมาเป็นคู่ ทำให้ของเหลวไหลเข้าสู่ทั้ง 2 ด้านของใบพัด และมีค่า NPSHR (Net positive suction head require) หรือค่าสมถนะการดูดของปั๊มต่ำกว่าใบพัดเดี่ยว


แบ่งตามการวางแนวของแกนเพลา

วางเพลาแนวนอน เป็นรูปแบบที่ผู้ผลิตนิยมทำ เพราะง่ายต่อการซ่อมบำรุง

วางเพลาแนวตั้ง เป็นการวางแกนเพลาในระนาบแนวตั้ง เป็นรูปแบบที่ไม่ค่อยได้รับความนิยมในการผลิตมากนัก


วิธีการดูแลรักษา “ปั้มหอมโข่ง”

สำหรับการบำรุงรักษาปั๊มหอยโขข่ง (รวมถึงปั๊มน้ำทุกชนิดด้วย) ควรตรวจเช็คและตรวจสอบเป็นประจำ เพราะไม่เพียงแต่จะช่วยยืดอายุการใช้งานของปั๊มน้ำ แต่ยังช่วยลดต้นทุนในการดำเนินการที่อาจจะเกิดขึ้นด้วย ซึ่งในการบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอนั้น จะสามารถประเมินสภาพของเครื่องและกำหนดระยะเวลาการซ่อมแซมส่วนประกอบต่าง ๆ ได้ เพื่อการใช้งานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และในการบำรุงรักษาตามปกติ จะมีอะไรบ้าง???

ตรวจสอบสภาพลูกปืนและการใส่สารหล่อลื่น ตรวจสอบอุณหภูมิของตลับลูกปืน ระดับน้ำมันหล่อลื่น น้ำมันหล่อลื่นควรใสไม่มีฟอง หากเกิดฟองอากาศ แสดงว่าควรเติมน้ำมันหล่อลื่นมากขึ้นเพื่อลดอุณหภูมิของตลับลูกปืน หากมีการสั่นสะเทือนเพิ่มขึ้นในตลับลูกปืน อาจเป็นสัญญาณว่าอาจะเกิดปัญหาขึ้น

ตรวจสอบสภาพซีลเพลา ตรวจสอบดูว่า "ซีลเพลา" มีการรั่วไหลเกิดขึ้นหรือไม่ สังเกตดูว่าน้ำมันหล่อลื่นเพียงพอ เพราะถ้าหากว่าแห้งเกินไป ควรเพิ่มสารหล่อลื่นตามสมควร

สังเกตภาพรวมในการสั่นของปั๊ม การสั่นสะเทือนของปั๊ม ให้สังเกตดูว่า มีการสั่นสะเทือนมากเกินไปหรือไม่ ถ้าหากมีผิดสังเกต อาจเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแนวของปั๊ม หรืออาจเกิดปัญหากับตลับลูกปืน หรือการเกิดโพรงอากาศภายใน รวมถึงมีสิ่งสปรกหรือเศษผงที่ติดอยู่ภายในท่อดูดและท่อระบาย

ตรวจสอบปั๊มจ่ายแรงดัน ตรวจวัดดูว่าค่าแรงดันในท่อยังเป็นปกติหรือไม่ ค่าที่อ่านได้ควรอยู่ในมาตรฐานที่ปั๊มออกแบบไว้ สามารถดูได้ตามคู่มือการใช้งานที่ติดมากับเครื่อง

เพลาและปลอก ตรวจสอบร่องหรือรูพรุน ตรวจสอบความพอดีของตลับลูกปืนและระยะหนีของเพลา หากตรวจสอบแล้วพบการสึกหรอ หรือหากระยะหนีของเพลามากกว่า 0.002 นิ้ว ให้ทำการเปลี่ยนเพลาและปอกทันที

ปลอก ตรวจสอบสัญญาณการสึกหรอ การกัดกร่อน รูพรุน หรือพื้นผิวของปะเก็นเพื่อหาสัญญาณความผิดปกติ ถ้าหากสึกหรอมีความลึกเกิน 1/8 นิ้ว ควรเปลี่ยนปลอกใหม่ทันที

ใบพัด ตรวจสอบสัญญาณการสึกหรอ การกัดกร่อน หรือรูพรุน เพื่อหาสัญญาณความผิดปกติ ถ้าหากสึกหรอมีความลึกเกิน 1/8 นิ้ว แนะนำให้เปลี่ยนใบพัด

เพลา ตรวจสอบเพลาเพื่อหาร่องรอยการกัดกร่อนหรือการสึกหรอและความตรงของแนวการวาง ซึ่งตัวบ่งชี้ทั้งหมด (TIR) สูงสุดที่ปลอกเข้ากันได้ไม่ควรเกิน 0.002 นิ้ว

โครงตลับลูกปืนและฐานรอง ตรวจสอบรอยร้าว ความขรุขระ สนิม หรือตะกรัน เพราะพื้นผิวไม่ควรมีรูพรุนหรือการสึกกร่อนอยู่

มอเตอร์ไฟฟ้า มอเตอร์ไฟฟ้าเป็นตัวขับเคลื่อนของปั๊มหอยโข่ง เนื่องจากมีทั้งชิ้นส่วนที่เป็นกลไกและอิเล็กทรอนิกส์ จึงต้องมีการบำรุงรักษาบ่อยครั้ง เพื่อให้ทำงานได้มีประสิทธิภาพ รวมถึงการตรวจสอบทางกายภาพและการทดสอบมอเตอร์ด้วย เพื่อป้องกันปัญหาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การเชื่อมต่อไฟฟ้าที่หลวม ขดลวดมีความผิดปกติ ช่องระบายอากาศอุดตัน ปัญหาความร้อนสูงเกินไป เป็นต้น


“ปั้มหอมโข่ง” คุณภาพดีมีที่ MINSEN

MIN SEN MACHINERY จัดจำหน่ายสินค้าอุตสาหกรรม ทั้งด้านอุตสาหกรรมการเกษตร อุตสาหกรรมเครื่องมือกล อุตสาหกรรมระบบราง รวมถึงระบบบริหารจัดการน้ำ (Water system) โดยเราจัดจำหน่ายปั๊มน้ำภายใต้แบรนด์กรุนด์ฟอส (Grundfos) ซึ่งมีปั๊มน้ำที่สามารถใช้ได้ในหลากหลายอุตสาหกรรม ซึ่งจะเหมาะสำหรับการสูบจ่ายน้ำ การเพิ่มแรงดันในงานอุตสาหกรรม การส่งจ่ายของเหลวในงานอุตสาหกรรม HVAC (ระบบทำความร้อน ระบบระบายอากาศ และระบบปรับอากาศ) และการชลประทาน ซึ่งเครื่องสูบน้ำแนวนอนของกรุนด์ฟอส จะเป็นเครื่องสูบน้ำอเนกประสงค์เหมาะกับงานสูบจ่ายน้ำที่ต้องวางใจได้และประหยัด ปั๊มแนวนอนเหมาะกับงานห้าด้านหลักๆ: การสูบจ่ายน้ำ การเพิ่มแรงดันในงานอุตสาหกรรม การสูบจ่ายของเหลวในงานอุตสาหกรรม HVAC (ระบบทำความร้อน ระบบระบายอากาศ และระบบปรับอากาศ) และการชลประทาน


เครื่องสูบน้ำกรุนด์ฟอสรุ่น NB/NBG เป็นเครื่องสูบน้ำหอยโข่งใบพัดเดียวชนิดไม่หล่อน้ำด้วยตัวเอง มีช่องทางดูดเป็นแนวขนานกับแกนเพลา (axial suction port) ส่วนช่องทางจ่ายเป็นแนวรัศมี (radial discharge port) และมีเพลาแนวนอน (horizontal shaft) ผลิตภัณฑ์ในรุ่น NB/NBG ประกอบด้วยเครื่องสูบน้ำแบบ close-coupled ที่มีขนาดตรงตามมาตรฐาน EN733 หรือ ISO2858


วิธีดูแลรักษา “ปั้มหอยโข่ง” ในอุตสาหกรรม

การใช้งาน

กรุนด์ฟอสมีเครื่องสูบน้ำแนวนอน (end-suction pumps) แบบ close coupled (NB) อยู่มากมาย ด้วยความแข็งแกร่งและประสิทธิภาพที่วางใจได้จึงทำให้เครื่องรุ่นนี้เหมาะกับงานหนัก เช่น

● โรงไฟฟ้าผลิตความร้อนแบบรวมศูนย์ (District heating plants)

● ระบบทำความร้อน (Heating systems) สำหรับอาคารห้องพัก

● ระบบปรับอากาศ (Air-conditioning systems)

● ระบบทำความเย็น (Cooling systems)

● ระบบกดน้ำราดจากถัง (Wash down systems)

● ระบบอุตสาหกรรม (industrial systems) อื่นๆ


คุณสมบัติและข้อดี

● ระบบไฮดรอลิกส์ที่เหมาะกับตัวเรือนและใบพัด = ของเหลวไหลได้โดยไม่มีสิ่งกีดขวาง

● ซีล O-ring ระหว่างเรือนปั๊มกับฝาครอบ = ไม่มีความเสี่ยงต่อการรั่วไหล

● ตัวเรือน (Housing) ใบพัด (impeller) และแหวนกันสึก (wear ring) ทำจากวัสดุต่างกัน = ป้องกันการกัดกร่อนได้ดีขึ้น ไม่มีชิ้นส่วนใดติดกันจนแกะไม่หลุด

● เครื่องสูบน้ำเคลือบด้วย CED เพื่อเพิ่มความทนทานต่อการกัดกร่อน

● มีให้เลือกทั้งแบบติดตั้งกับมอเตอร์ IE1, IE2 และ IE3

● มีวัสดุและซีลเพลาให้เลือกมากมาย

● PN 10,16 และ 25 bar

● สำหรับอุณหภูมิที่สูงถึง 140 °C


จุดเด่น

● ระบบไฮดรอลิกที่ปรับให้เหมาะสมกับตัวเรือนและใบพัด

● ซีล O-ring ระหว่างเรือนปั๊มกับฝาครอบ

● ตัวเรือน (Housing) ใบพัด (impeller) และแหวนกันสึก (wear ring) ที่ทำจากวัสดุต่างกัน

เครื่องจักรกลการเกษตร
Agri_xl.jpg
ปั๊มน้ำและอุปกรณ์ระบบน้ำ
Water_xl.jpg
เครื่องจักรอุตสาหกรรม
Machine_Tools_xl.jpg
อุตสาหกรรมระบบราง
Railway_xl.jpg
bottom of page