top of page

ความสำคัญของ "ระบบน้ำเสีย" ที่โรงงานอุตสาหกรรมที่จำเป็นต้องมี

อัปเดตเมื่อ 12 ต.ค. 2566


ความสำคัญของ "ระบบน้ำเสีย" ที่โรงงานอุตสาหกรรมที่จำเป็นต้องมี

น้ำเสียคืออะไร ?

น้ำเสีย (Wastewater) คือ ของเสียที่อยู่ในสภาพวะของเหลว ที่มีการปะปนและปนเปื้อนของสารต่างๆ และมักจะมีสิ่งเจือปนในปริมาณที่สูงมาก จนกลายเป็นน้ำที่ไม่เป็นที่ต้องการของประชากรทั่วไป น้ำเสียสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้ดังนี้ น้ำเสียจากแหล่งชุมชน (Domestic Wastewater) น้ำเสียจากการเกษตรกรรม (Agricultural Wastewater) และน้ำเสียจากอุตสาหกรรม (Industrial Wastewater) โดยน้ำเสียเหล่านี้ต้องได้รับการบำบัดก่อน จึงจะสามารถปล่อยสู่ธรรมชาติและแหล่งชุมชนได้ ซึ่งหลักการของการบำบัดน้ำเสีย คือการกำจัดหรือทำลายสิ่งปนเปื้อนในน้ำเสียให้หมดไป หรือเหลือน้อยที่สุด เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งที่กำหนดไว้และไม่ทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม


ความสำคัญของ "ระบบน้ำเสีย" ที่โรงงานอุตสาหกรรมที่จำเป็นต้องมี


ระบบบําบัดน้ำเสีย (Wastewater Treatment System) สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้

การบำบัดทางกายภาพ (Physical Treatment)

เป็นการแยกสิ่งเจือปนออกจากน้ำเสีย เช่น ของแข็ง กระดาษ พลาสติก เศษอาหารต่างๆ หิน กรวด ทราย ไขมันและน้ำมัน โดยใช้อุปกรณ์ในการบำบัดทางกายภาพ คือ ตะแกรงดักขยะ ถังดักกรวดทราย ถังดักไขมันและน้ำมันและถังตกตะกอน ซึ่งจะเป็นการลดปริมาณของแข็งทั้งหมดที่มีในน้ำเสียเป็นหลัก


การบำบัดทางเคมี (Chemical Treatment)

เป็นการบำบัดน้ำเสียโดยใช้กระบวนการทางเคมี เพื่อทำปฏิกิริยากับสิ่งเจือปนในน้ำเสีย วิธีการนี้จะใช้สำหรับน้ำเสียที่มีส่วนประกอบอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้ ค่า pH สูงหรือต่ำเกินไป มีสารพิษ มีของแข็งแขวนลอยที่ตกตะกอนยากหรือมีไขมันและน้ำมันที่ละลายน้ำ และมีเชื้อโรค ซึ่งอุปกรณ์ที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีทางเคมี ได้แก่ ถังกวนเร็ว ถังกวนช้า ถังตกตะกอน ถังกรองและถังฆ่าเชื้อโรค


การบำบัดทางชีวภาพ (Biological Treatment)

เป็นการบำบัดน้ำเสียโดยใช้กระบวนการทางชีวภาพหรือใช้จุลินทรีย์ในการกำจัดสิ่งเจือปนในน้ำเสียโดยเฉพาะสารคาร์บอนอินทรีย์ ไนโตรเจนและฟอสฟอรัส โดยสารเหล่านี้จะถูกใช้เป็นอาหารและเป็นแหล่งพลังงานของจุลินทรีย์ในถังเลี้ยงเชื้อ เพื่อการเจริญเติบโต ทำให้น้ำเสียมีค่าความสกปรกลดลง โดยจุลินทรีย์เหล่านี้อาจเป็นแบบใช้ออกซิเจน (Aerobic Organisms) หรือไม่ใช้ออกซิเจน (Anaerobic Organisms) ก็ได้


การบําบัดน้ำเสีย สามารถแบ่งได้ตามขั้นตอนต่างๆ ดังนี้

การบําบัดขั้นต้น (Primary Treatment)

เป็นการบําบัดเพื่อแยกเศษขยะหรือของแข็งขนาดใหญ่ออกจากน้ำเสีย โดยใช้ตะแกรงหยาบ (Coarse Screen) ตะแกรงละเอียด (Fine Screen) ถังดักกรวด ทราย (Grit Chamber) ถังตกตะกอนเบื้องต้น (Primary Sedimentation Tank) เป็นต้น การบําบัดน้ําเสียขั้น นี้สามารถกําจัดของแข็งแขวนลอยได้ร้อยละ 5-70 และกําจัดสารอินทรีย์ซึ่งวัดในรูปของ BOD ได้ร้อยละ 25-40


การบําบัดขั้นที่สอง (Secondary Treatment)

โดยทั่วไปการบําบัดขั้นที่สอง เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “การบําบัดทางชีวภาพ (Biological Treatment)” การบําบัดน้ำเสียในขั้นนี้ สามารถกําจัดของแข็ง สารแขวนลอยและสารอินทรีย์ ซึ่งวัดในรูปของ BOD ได้มากกว่าร้อยละ 80


การบําบัดขั้นที่สาม (Tertiary Treatment)

เป็นกระบวนการกําจัดสารอาหาร โลหะหนัก สารแขวนลอยที่ตกตะกอนยากและกระบวนการบําบัดขั้นที่สาม ได้แก่ กระบวนการดูดซับด้วยคาร์บอน กระบวนการแลกเปลี่ยนประจุ กระบวนการดีไนทริฟิเคชัน เป็นต้น


กระบวนการบําบัดขั้นสุดท้าย (Final Treatment Process)

เป็นกระบวนการบําบัดขั้นสุดท้าย ที่ใช้สําหรับปรับคุณภาพน้ำขั้นสุดท้าย เช่น บ่อแอโรบิก การฆ่าเชื้อโรคด้วยคลอรีน เป็นต้น ซึ่งน้ำทิ้งที่บําบัดแล้ว ก่อนทิ้งลงแหล่งรับน้ำสาธารณะ จะต้องทําการบําบัดให้ได้เกณฑ์มาตรฐานน้ำทิ้งของกฎหมายแหล่งระบายน้ำทิ้ง ก่อนที่จะระบายลงแหล่งสู่แหล่งน้ำสาธารณะ


ความสำคัญของ "ระบบน้ำเสีย" ที่โรงงานอุตสาหกรรมที่จำเป็นต้องมี

การเลือกระบบบำบัดน้ำเสียขึ้นอยู่กับปัจจัยใดบ้าง?

การเลือกระบบบำบัดน้ำเสียขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ได้แก่ ลักษณะของน้ำเสีย ระดับการบำบัดน้ำเสียที่ต้องการ ค่าลงทุนก่อสร้าง ค่าดำเนินการดูแลและบำรุงรักษา รวมถึงขนาดของที่ดินที่ใช้ในการก่อสร้าง ซึ่งปัจจุบันระบบบำบัดน้ำเสียได้แบ่งออกเป็น 6 แบบ ได้แก่

1. แบบบ่อปรับเสถียร (Stabilization Pond)

2. แบบบ่อเติมอากาศ (Aerated Lagoon : AL)

3. แบบบึงประดิษฐ์ (Constructed Wetland)

4. แบบแอกทิเวเต็ดสลัดจ์ (Activated Sludge Process :AS)

5. คลองวนเวียน (Oxidation Ditch)

6. แบบแผ่นจานหมุนชีวภาพ (Rotating Biological Contactor ; RBC)

การบำบัดน้ำเสียเป็นส่วนสำคัญของทุกอุตสาหกรรม ซึ่งในทุกๆ ปีจะมีน้ำปริมาณมากที่ถูกปล่อยทิ้งสู่สิ่งแวดล้อมและแหล่งชุมชน ดังนั้น ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมจะต้องตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว และเลือกใช้ระบบบำบัดน้ำเสียที่เหมาะสม เพื่อให้น้ำที่ทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมเป็นไปตามมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากแหล่งกำเนิด ก่อนที่จะปล่อยลงสู่แหล่งน้ำตามธรรมชาติและแหล่งชุมชนต่อไป


ถ้าหากกำลังมองหาบริการเกี่ยวกับการวางระบบบำบัดน้ำเสียMIN SEN MACHINERYในส่วนของ WATER SYSEMนั้น เรามีบริการด้านปั๊มน้ำและเป็นผู้ช่วยแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับระบบน้ำให้กับลูกค้าในหลายภาคอุตสาหกรรม ทำให้มั่นใจว่าเราสามารถใช้ประสบการณ์ในการให้คำปรึกษาแนะนำ การบริการดูแลติดตั้งปั๊มน้ำ การวางระบบน้ำและการบริการอื่นๆ อย่างดีที่สุด


ความสำคัญของ "ระบบน้ำเสีย" ที่โรงงานอุตสาหกรรมที่จำเป็นต้องมี

โดยในปี 2536 (1993) บริษัทฯ ของเราได้ร่วมทุนกับผู้นำในด้านปั๊มน้ำระดับโลก จากประเทศเดนมาร์ก ก่อตั้ง บริษัท กรุนด์ฟอสโฮลดิ้ง จำกัด ซึ่งได้ลงทุนในธุรกิจปั๊มน้ำ ในนามของ บริษัท กรุนด์ฟอส (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อดำเนินธุรกิจจำหน่ายปั๊มน้ำในประเทศไทย ซึ่งเราตั้งใจออกแบบระบบน้ำเพื่อช่วยให้ลูกค้าและคู่ค้าของเรา สามารถนำน้ำไปใช้ประโยชน์ได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นภาคอุตสาหกรรม ภาคการเกษตร ภาคอุตสาหกรรมและภาคพลังงาน โดยเรามี

1) การติดตั้งระบบทำน้ำดื่มให้กับโรงเรียนและหมู่บ้านต่างๆ ทั่วประเทศ

2) รับออกแบบ-ติดตั้งระบบบริหารจัดการน้ำ

3) ออกแบบระบบบำบัดน้ำให้กับ โรงงาน โรงพยาบาล โรงแรม และอาคารที่อยู่อาศัย

นอกจากนี้เรามีบริการตรวจเช็คปั๊มน้ำและระบบน้ำเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นกับระบบ ลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมและประหยัดพลังงานอีกด้วย

เครื่องจักรกลการเกษตร
Agri_xl.jpg
ปั๊มน้ำและอุปกรณ์ระบบน้ำ
Water_xl.jpg
เครื่องจักรอุตสาหกรรม
Machine_Tools_xl.jpg
อุตสาหกรรมระบบราง
Railway_xl.jpg
bottom of page