top of page

เปลี่ยนฟางให้เป็นปุ๋ย บำรุงนาข้าว



คุณอำนาจ สีบัวทอง เกษตรกรนาอินทรีย์รุ่นใหม่วัย 36 ปี ผู้นำเทคโนโลยีมาช่วยในการทำนา และขยายกิจการนา ข้าว ซึ่งเป็นอาชีพของพ่อแม่ และของตัวเองออกไปอย่างไม่หยุดยั้ง โดยนอกจากทำนาแล้ว ยังมีให้บริการรถเกี่ยวข้าว บริการรถไถครบวงจร แปรรูปข้าวสารขายเอง รวมทั้ง ปลูกผัก เลี้ยงปลา เขาเชื่อว่า เกษตรไม่ควรทำอะไรเพียงอย่างเดียว ควรมีรายได้จากหลายช่องทาง เผื่อพืชตัวไหนราคาตก ก็ยังมีพืชตัวอื่นคอยเสริมได้ ในการทำนานั้น ค่าสิ้นเปลืองอยู่ที่ปุ๋ยเป็นสำคัญ ดังนั้นคุณอำนาจจึงคิดวิธีประหยัดด้วยการทำปุ๋ยเอง อีกทั้งในนามีฟางข้าวอยู่แล้ว และฟางข้าวมีธาตุฟอสฟอรัสสูง เขาจึงไม่ทิ้ง และคิดหาทางใช้ประโยชน์จากฟางข้าวที่มี จึงจัดการเปลี่ยนให้เป็นปุ๋ยเสียเลย


ฟางข้าวที่อยู่ในนานั้น คุณอำนาจนำมาเปลี่ยนให้เป็นปุ๋ย เพราะฟางข้าวมีธาตุฟอสฟอรัสสูงมาก เป็นประโยชน์ต่อดิน โดยมีวิธีการทำดังนี้

1. นำฟางมาหมักกลบกับดิน แล้วใช้จุลินทรีย์ย่อยสลายเข้าไป

2. การใส่จุลินทรีย์เข้าไปย่อยสลาย ใช้สาร พด.2 จากกรมพัฒนาที่ดิน หรือจะหมักเองจากจุลินทรีย์หน่อกล้วยก็ได้ เพราะในหน่อกล้วยมีกลุ่มจุลินทรีย์ที่โคนกล้วยอยู่แล้วเพราะมีความชื้น จุลินทรีย์ชอบเกาะกลุ่มอยู่ ก็นำมาขยายเชื้อ โดยการใช้กากน้ำตาลผสมกับหน่อกล้วยสับ แล้วก็หมักทิ้งไว้ 7 วัน หลังจากนั้นก็นำมาบีบให้เกิดหัวเชื้อ จะได้หัวเชื้อจุลินทรีย์หน่อกล้วย หลังจากนั้นก็นำไปใส่กับน้ำเปล่าแล้วเติมกากน้ำตาลลงไป คนทุกวัน ทิ้งไว้ประมาณ 5 วัน แล้วก็นำไปปล่อยในแปลงนา

3. เวลานำไปปล่อยในแปลงนา คนปล่อยไม่จำเป็นต้องเดินเข้าไปในนา เพราะเราต้องปล่อยน้ำเข้านาอยู่แล้ว ให้ใส่สายยางตั้งถังไว้ แล้วก็หยดลงไปเพียงแค่นั้น น้ำไปถึงไหนจุลินทรีย์ก็วิ่งตามไปถึงนั่นเหมือนกัน ไม่จำเป็นต้องเดินให้เหนื่อย นี่เป็นเทคนิคง่ายๆ

4. การใส่จุลินทรีย์ ไม่จำเป็นต้องวัดอัตราส่วนก็ได้ ยิ่งใส่มากก็ยิ่งสลายเร็ว การหมักจุลินทรีย์กลุ่มนี้จะไปย่อยสลายฟาง เศษวัสดุต่างๆ ที่อยู่ในนาที่เป็นอินทรีย์วัตถุให้กลายเป็นฮิวมัสและเป็นอาหารพืชต่อไป ควรหมักไว้ไม่ต่ำกว่า 7 วัน เพื่อให้คายก๊าซ เพราะในฟางข้าวเกิดการทับถมกันอยู่ในดิน จะเกิดก๊าซ มีความร้อน ถ้าก๊าซคายไม่หมดจะทำให้ข้าวต้นเหลืองแห้ง ถ้าเราหว่านข้าวไปแล้วก๊าซไม่หมดแล้วต้นข้าวเหลือง ให้แก้โดยวิธีปล่อยน้ำออกให้แห้ง ให้ดินแตกเป็นหัวระแหงออกมา ให้อากาศเข้าไปถ่ายเทดูดก๊าซออกมาได้ นี่คือวิธีง่ายๆ


การหมักฟางจะทำให้เราประหยัดต้นทุนเรื่องปุ๋ย โดยเฉพาะสารอาหารที่ได้จากฟางนั้น จะได้ทั้งฟอสฟอรัสและโปแตสเซียม ธาตุอาหารฟอสฟอรัสจะช่วยในการทำให้ข้าวแข็งแรง และป้องกันโรค ส่วนโปแตสเซียมจะช่วยในการสร้างรวง และสร้างแป้งให้ข้าว ซึ่งสองแร่ธาตุนี้มีอยู่แล้วในฟางข้าว เขาจึงใช้ฟางข้าวให้เกิดประโยชน์สูงสุด


ที่มา : รักบ้านเกิด

เครื่องจักรกลการเกษตร
Agri_xl.jpg
ปั๊มน้ำและอุปกรณ์ระบบน้ำ
Water_xl.jpg
เครื่องจักรอุตสาหกรรม
Machine_Tools_xl.jpg
อุตสาหกรรมระบบราง
Railway_xl.jpg
bottom of page